จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

เพาะเห็ดตับเต่าขาย สร้างรายได้เดือนละหลายหมื่น ไม่พอขาย


ป้าเดือนเพ็ญ รื่นรส ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเห็ดตับเต่าคลองโพ เล่าให้ฟังว่า สาเหตุที่เพาะเห็ดตับเต่าเนื่องจากได้ไปเก็บเห็ดในป่าและดงโสนมาทำอาหารกินในครัวเรือน เมื่อพ่อค้าเร่เข้ามาซื้อขายสินค้าเกษตรในชุมชน และพบว่าตนเองและมีเพื่อนบ้านหลายคนได้นำเห็ดตับเต่ามาปรุงรสอาหารกิน จึงแสดงความต้องการว่า ถ้ามีเห็ดตับเต่าปริมาณมากก็จะขอรับซื้อไปขายที่ตลาดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
ต้นโสนเป็นพืชอาศัยเพื่อเพาะเห็ด ดอกโสนนำไปลวกนึ่งกินกับน้ำพริก
เมื่อมีทางเลือกที่ดี จึงใช้พื้นที่ 1 งาน ทดลองเพาะเห็ดตับเต่าในดงโสน การเพาะเลี้ยงได้ใช้วิธีการลองแบบธรรมชาติ ปรากฏว่าได้ผลผลิตเกือบ 10 กิโลกรัม นำออกขายให้กับพ่อค้า ได้ 20 บาท ต่อกิโลกรัม และระหว่างที่เพาะเห็ดเพื่อนบ้านได้เข้ามาเรียนรู้วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าไปด้วยกัน พร้อมกับนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ทำให้ทุกคนประสบความสำเร็จมีเห็ดตับเต่ากินและขายเป็นรายได้มีวิถีที่มั่นคงขึ้น
ป้าเดือนเพ็ญ รื่นรส ทยอยตัดต้นโสนแก่ออกทิ้ง
เมื่อมีทางเลือกที่ดี จึงใช้พื้นที่ 1 งาน ทดลองเพาะเห็ดตับเต่าในดงโสน การเพาะเลี้ยงได้ใช้วิธีการลองแบบธรรมชาติ ปรากฏว่าได้ผลผลิตเกือบ 10 กิโลกรัม นำออกขายให้กับพ่อค้า ได้ 20 บาท ต่อกิโลกรัม และระหว่างที่เพาะเห็ดเพื่อนบ้านได้เข้ามาเรียนรู้วิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าไปด้วยกัน พร้อมกับนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ทำให้ทุกคนประสบความสำเร็จมีเห็ดตับเต่ากินและขายเป็นรายได้มีวิถีที่มั่นคงขึ้น
ปี 2549 เพื่อนเกษตรกรจึงรวมตัวกัน แล้วไปขอจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเห็ดตับเต่าคลองโพ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอบางปะอิน ปัจจุบัน มีสมาชิก 107 คน มีเป้าหมายเพื่อรวมกันผลิตรวมกันขาย ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน พร้อมกับมีหน่วยงานภาคเอกชนและรัฐได้เข้ามาให้การสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการและเสริมทักษะด้วย
สมาชิกแต่ละรายจะเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าในบริเวณพื้นที่ดงโสนของตน ใช้พื้นที่เพาะตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป บางรายใช้พื้นที่เพาะเห็ด 7-10 ไร่ แต่ละรายจะได้ผลผลิตเห็ดเฉลี่ย 600 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อฤดู โดยส่วนตัวได้เพาะเห็ดตับเต่าในดงโสน พื้นที่ 7 ไร่ โดยใช้ต้นโสนเป็นพืชอาศัยให้เห็ดตับเต่าเจริญเติบโต
วิธีการเพาะเลี้ยง จะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงมกราคม เป็นช่วงที่ต้นโสนเริ่มแ ก่ เมล็ดโสนแ ก่จะร่ว งลงในบริเวณพื้นที่ก็ปล่อยให้งอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นใหม่ เมื่อต้นโสนมีความสูงประมาณ 1 ฟุต ได้ถอนแยกให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ไว้พร้อมกับเว้นระยะระหว่างต้นและแถวห่างกัน 70×70 เซนติเมตร เพื่อให้ดงโสนโปร่ง เมื่อต้นโสนมีความสูง 1 เมตรขึ้นไป ก็เหมาะสมที่จะให้เป็นพืชอาศัยในการเพาะเห็ดตับเต่าได้ดี
เมล็ดโสนร่ว งที่เจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ เพาะได้ระยะเหมาะสมเพื่อการเพาะเห็ด
ในราวเดือนมีนาคม-เมษายน ได้ปรับบริเวณพื้นที่ดงโสนให้เสมอกัน รดน้ำเพื่อปรับพื้นที่ให้มีความชื้นที่เหมาะสม นำเชื้ อเห็ดตับเต่าที่มีส่วนผสมของเชื้ อเห็ด 1 ส่วน กับน้ำ 3 ส่วน คนให้เข้ากัน นำไปตักรดให้กระจายรอบๆ โคนต้นโสน หลังจากนั้นถ้าสังเกตพบว่าดินในบริเวณพื้นที่เพาะเห็ดแห้งก็รดน้ำเพิ่ม เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้มีความชื้นพอเพียง แต่ถ้าดินในบริเวณพื้นที่เพาะยังมีความชื้นดีอยู่ ใน 2-3 วัน จึงจะให้น้ำเพื่อรักษาความชื้น และถ้าสังเกตว่าเชื้ อเห็ดไม่เดิน  ต้องผสมเชื้ อเห็ดแล้วนำมาตักรดให้กระจายเพิ่มลงไปบริเวณพื้นที่เดิมนั้นอีกครั้ง
เก็บเห็ดตับเต่าอย่าให้ช้ำ
คัดเลือกเห็ดตับเต่าบรรจุถุงพร้อมขายให้พ่อค้า
แต่ถ้าสังเกตว่าเชื้อเห็ดที่ตักรดกระจายในครั้งแรกมีการเดินหรือเจริญเติบโตได้ดีในช่วง 30-40 วัน ก็จะเริ่มเก็บเห็ด โดยเฉลี่ยพื้นที่กว้าง 2 เมตร และยาว 20 เมตร จะเก็บเห็ดได้ประมาณ 20 กิโลกรัม นำออกขาย ราคา 120-130 บาท ต่อกิโลกรัม มีเห็ดตับเต่าให้เก็บทุก 7 วัน ต่อครั้ง และเก็บได้นาน 4 เดือนกว่า จากนั้นก็จะเป็นช่วงพักแปลง
เลี้ยงเป็ดทุ่งเป็นอาหาร
ในช่วงพักแปลงนี้ได้ปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกกล้วย เลี้ยงเป็ดหรือเลี้ยงไก่ เพื่อเป็นอาหารและขายสร้างรายได้ จากกิจกรรมผสมผสานกันหลายชนิด จึงมีงานให้ทำทั้งปี มีกินมีรายได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะเห็ดตับเต่าพืชเศรษฐกิจสำคัญเป็นชนิดที่มีผู้ชื่นชอบและซื้อไปบริโภคกันแพร่หลาย จึงทำให้มีรายได้พอเพียงในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคง
เรื่อง เห็ดตับเต่า…พืชเศรษฐกิจในดงโสน ผลิตเพื่อการค้าด้วยวิถีพอเพียง เป็นการเพาะเห็ดตับเต่าในดงโสนพืชอาศัย เมื่อได้ระยะเวลาเหมาะสมก็เก็บมากินและขายสร้างรายได้ เป็นทางเลือกการดำรงชีพด้วยวิถีพอเพียงที่มั่นคง สอบถามเพิ่มเติมที่ ป้าเดือนเพ็ญ รื่นรส 53 หมู่ที่ 3 บ้านสามเรือน ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร.(087) 014-6038 หรือ คุณวิภาดา สุภานันท์ สำนักงานเกษตรอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร. (081) 347-8495 ก็ได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น